‘หัวใจ’ เป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกายเนื่องจากมีหน้าที่เป็นตัวปั๊มและทำการขับเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นหากมีความผิดปกติแม้เล็กน้อยก็อาจเป็นสัญญาณที่บอกถึงสาเหตุการเกิดโรคอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งก็มีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจมีหลายปัจจัย เช่น
โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคหัวใจติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
การใช้ยา ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้ปวดหัวใจ ยาต้านกล้ามเนื้อหัวใจ และยาแก้วัณโรค อาจมีผลต่อการทำงานของระบบในหัวใจ
สารเคมี การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่ สามารถส่งผลต่อการทำงานของระบบในหัวใจ
โรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคทั้งหมดนี้สามารถเป็นสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบในหัวใจจนทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
สภาวะความเครียด การเกิดความเครียดอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
การออกกำลังกาย การออกกำลังกาย หรือการใช้ร่างกายหนักหน่วงเกินไปอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจได้
การวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
การวินิจฉัยจะมีหลายเทคนิคที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของแพทย์ รวมถึงมีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์หลายชนิด เช่น
Electrocardiogram (ECG) วิธีการที่พบได้บ่อยที่สุดในการวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยการใช้เครื่อง ECG ที่ติดตัวผู้ป่วย เพื่อวัดและบันทึกการเต้นของหัวใจในรูปแบบกราฟ
Holter monitor เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งอยู่กับผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบว่าหัวใจของผู้ป่วยเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ซึ่ง Holter monitor จะบันทึกการทำงานของหัวใจของผู้ป่วยในเวลาระยะยาวกว่า 24 ชั่วโมง
Echocardiogram เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ
Cardiac MRI เป็นการตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ เช่น ตรวจหาการตีบตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือรอยแผลเป็นที่หัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติและยังสามารถช่วยตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายในอวัยวะอื่นๆได้ด้วย
Electrophysiology study (EPS) เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและตำแหน่งที่ระบบไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ แสดงผลเป็นกราฟ 2 มิติ ช่วยให้แพทย์พิจารณาทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสม
Comments