top of page
  • SIANGTAI TEAM

“สตูลวิทยา”ผุด “คมเคียว...เกี่ยวใจ”ลงแขกเกี่ยวข้าว

โครงการคมเคียว...เกี่ยวใจเปิดอย่างเป็นทางการ



ที่บริเวณศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาโรงเรียนสตูลวิทยา ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “คมเคียว...เกี่ยวใจ” ลงแขกเกี่ยวข้าว โคก หนอง นา โรงเรียนสตูลวิทยา ที่ทางโรงเรียนสตูลวิทยา ที่ นายอรุณ โต๊ะหวันหลง ผู้อำนวยการโรงเรียนสตูลวิทยา และคระครู-อาจารย์ฯจัดขึ้นมา โดยมี นายอดินันท์ ปากบารา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสตูลวิทยา นาวาตรีหญิงโนสมา หลีเส็น นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล คณะครู-อาจารย์ นำนักเรียนร่วมเข้าร่วม



ทั้งนี้นายอรุณ กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้โคก หนอง นา โรงเรียนสตูลวิทยา นั้น ได้บูรณาการสู่การเรียนรู้ ที่ยั่งยืน ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นมา เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ในพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณด้านหลังโรงเรียนสตูลวิทยารวมเนื้อที่ ประมาณ 7 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่นาข้าว แปลงปลูกพืชผักนานาพันธ์ พื้นที่ขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกไม้ผล ไม้เลื้อย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันก่อตั้งโรงเรียนสตูลวิทยา สำหรับพื้นที่นาข้าวศูนย์เรียนรู้ นั้น ปลูกข้าวผ่านมาแล้ว ประมาณ 6 เดือนนับแต่วันก่อตั้งและขณะนี้ข้าวกำลังสุกเหลืองอร่าม ฉะนั้นทางโรงเรียนสตูลวิทยาจึงได้จัดโครงการลงแขกเกี่ยวข้าวขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรักษาประเพณีอันดีงามที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตกาลและเพื่อเป็นการที่สร้างความรักสามัคคี รวมถึงเพื่อร่วมแรงร่วมใจกันของผู้คนในชุมชนที่นับวันการเกี่ยวข้าวด้วยคนกำลังจะจางหายไปจากสังคมไทยเพื่อให้อยู่คู่ท้องถิ่นต่อไปถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ต่อไป


ด้านนายเอกรัฐ กล่าวว่า บรรยากาศของกิจกรรมครั้งนี้ทำให้ต้องหวนระลึกถึงคนรุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตาทวดและวิถีชีวิตของความเป็นไทยเพราะสมัยเด็กๆมีการทำนาเมื่อถึงเวลาเกี่ยวข้าวแล้วจะมีผู้คนในชุมชนมาลงแขกชช่วยกันเก็บข้าวด้วยแกะเป็นที่สนุกสนานฉันพี่น้องกันบัดนี้ภาพในอดีตกาลนั้นผุดขึ้นมาอีกครั้งนับว่าเป็นการรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมรวมถึงความทรงจำทั้งนี้ที่สำคัญบทเพลงเกี่ยวข้าว มีเสียงดนตรีต่างก็ร่วมแรงร่วมใจผนึกกำลังลงมือเกี่ยวข้าวในทุ่งนาข้าวกันอย่างสนุกสนานครื้นเครงเป็นกิจกรรมที่ควรสนับสนุนส่งเสริมเป็นอย่างยิ่งประการสำคัญคนรุ่นใหม่ได้รับความรู้ในกิจกรรมฯในครั้งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่หลายคนอาจจะไม่เคยใช้แกะเก็บข้าวก็สามารถเรียนรู้วิถีชีวิตชาวนาดั้งเดิมเกิดความจดจำโดยนำไปต่อยอดได้ตลอดไป.

bottom of page